0 views
ตอบคำถามคาใจ นักลงทุนกองทุนรวม ที่ควรต้องรู้
ตอบคำถามคาใจ นักลงทุนกองทุนรวม ที่ควรต้องรู้ นักลงทุนหลายท่านสงสัยและกังวลเรื่องค่าธรรมเนียมกองทุน ว่าแต่ละรายการคือค่าอะไร? เก็บทำไม? เก็บมากเกินไปหรือเปล่า? เราโดนเอาเปรียบหรือเปล่า? บทความนี้จะเล่าให้ฟังว่าค่าธรรมเนียมกองทุนทั้งหมดทั้งมวลมีอะไรบ้าง เพื่อที่นักลงทุนจะได้เข้าใจในการลงทุนในกองทุนรวมมากขึ้น และสามารถนำเรื่องค่าธรรมเนียมมาคิดประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ไม่เสียค่าธรรมเนียมมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนลดลงโดยใช่เหตุครับ ทำไมกองทุนต้องเก็บค่าธรรมเนียม ตอบแบบตรงไปตรงมา ค่าธรรมเนียมคือ “รายได้เพียงอย่างเดียว” ของกองทุนครับ ถ้าไม่เก็บกองทุนก็ไม่มีรายได้ เพราะผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนต่างๆ กองทุนไม่สามารถงุบงิบได้ ผลตอบแทนจะรวมอยู่ในมูลค่าหน่วยลงทุนและเงินปันผล ซึ่งเป็นของนักลงทุนทั้งหมด แล้วรายได้จากค่าธรรมเนียมนี้กระจายไปตรงไหนบ้าง? ก็จะกระจายไปให้ทุกคนที่มีส่วนช่วยในการบริหารกองทุน ได้แก่ บลจ., ผู้จัดการกองทุน, ตัวแทนซื้อขาย, ผู้ดูแลทรัพย์สิน ฯลฯ แผนผัง โครงสร้าง กองทุนรวม แผนผังการบริหารกองทุน ที่มา: หนังสือ “กองทุนรวม ฉบับพื้นฐาน” โดย Mr.Messenger ดังนั้น ค่าธรรมเนียมเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในทรัพย์สินใดก็ตาม ทั้งหุ้นแล้วก็กองทุน อย่างไรก็ตามเรื่องของค่าธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ถ้าเข้าใจแล้วก็สามารถวางแผนบริหารให้ไม่ขาดทุนได้ครับ ค่าธรรมเนียมกองทุนมีอะไรบ้าง ค่าธรรมเนียมที่กองทุนเรียกเก็บจากนักลงทุน แบ่งใหญ่ๆ ได้เป็น 2 แบบ ยึดตามข้อมูลในหนังสือชี้ชวน แบบแรกคือ “ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย” และแบบที่ 2 คือ “ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม” 1. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย ค่าธรรมเนียม กองทุนรวม ตัวอย่างค่าธรรมเนียมของกองทุน KF-GTECH ฉบับวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ค่าธรรมเนียมแบบแรก ลักษณะคือกองทุนจะเก็บจากผู้ซื้อขายโดยตรง ซึ่งค่าธรรมเนียมส่วนนี้จะเกิดขึ้นตอน “ซื้อ” หรือ “ขาย” หน่วยลงทุน โดยจะเก็บเป็น % ของมูลค่าซื้อขาย คิดรวมเข้าไปในราคา NAV ที่ บลจ. แจ้งให้ทราบตอนยืนยันคำสั่งซื้อขาย ยกตัวอย่างเช่น กองทุนหนึ่งราคา NAV เท่ากับ 10 บาท เก็บค่าธรรมเนียมซื้อ 1% ถ้าเราซื้อ เราต้องซื้อที่ราคา 10.1 บาท หรือถ้ากลับกันกองทุนไม่เก็บค่าธรรมเนียมตอนซื้อ แต่เก็บค่าธรรมเนียมตอนขายออก ก็จะขายได้ที่ราคา 9.9 บาทแทน ตัวอย่างค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อขายโดยตรง Front-end = ค่าธรรมเนียมขายหน่วยลงทุน เก็บตอนเราซื้อ (กองทุนขายหน่วยลงทุนให้เรา) Switching-in = ค่าธรรมเนียมสับเปลี่ยนเข้า เก็บตอนซื้อกองที่ย้ายมาจากกองอื่นใน บลจ. เดียวกัน (ปกติกองทุนมักไม่เก็บ เพราะเก็บจาก Front-end ไปแล้ว) Back-end = ค่าธรรมเนียมซื้อคืนหน่วยลงทุน เก็บตอนเราขาย (กองทุนซื้อหน่วยลงทุนคืนจากเรา) Switching-out = ค่าธรรมเนียมสับเปลี่ยนออก เก็บตอนขายกองเพื่อย้ายไปกองอื่นใน บลจ. เดียวกัน (ปกติกองทุนมักไม่เก็บ เพราะเก็บจาก Back-end ไปแล้ว) Spread = ส่วนต่างมูลค่าหน่วยลงทุน บางครั้งกองทุนจะไม่เก็บเป็นค่า Front-end หรือ Back-end แต่จะเก็บในรูปแบบส่วนต่างราคาตอนทำรายการแทน เรียกว่า Spread Transaction Fee = ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายหลักทรัพย์ เก็บเพิ่มเพราะเวลากองทุนเข้าไปซื้อหุ้นก็ต้องเสียค่า Commission หุ้นเหมือนกัน Transfer Fee = ค่าธรรมเนียมการโอนให้บุคคลอื่น หากเราต้องการโอนสิทธิ์เจ้าของกองทุนให้คนอื่น เช่น พ่อแม่ บุตรหลาน เป็นต้น Exit Fee = ค่าธรรมเนียมขายออกก่อนเวลาที่กำหนด บางกองทุนจะกำหนดระยะเวลาถือกองทุนขั้นต่ำ เพื่อไม่ให้การซื้อๆ ขายๆ รบกวนการบริหารกองทุน ถ้าเราซื้อแล้วขายออกก่อนเวลาที่กำหนดก็จะถูกหักค่าธรรมเนียม ทั้งหมดก็เป็นค่าธรรมเนียมที่จะถูกหักตอนเราซื้อ-ขายกองทุน อย่าเพิ่งตกใจเพราะกองทุนไม่ได้เก็บเราทุกค่า ปกติที่พบบ่อยจะเป็นค่าธรรมเนียมตอนซื้อ (Front-end) และค่าธรรมเนียมตอนขาย (Back-end) โดยกองทุนก็จะไม่เก็บ 2 ตัวนี้พร้อมกัน ถ้าอยากรู้ว่ากองไหนเก็บอะไรบ้าง สามารถเข้าไปดูได้ที่หนังสือชี้ชวนของกองทุน หรือเช็กดูที่หน้า finnomena.com/fund ก็ได้ครับ 2. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม ค่าธรรมเนียม กองทุนรวม ตัวอย่างค่าธรรมเนียมของกองทุน TMBGQG ฉบับวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ค่าธรรมเนียมแบบที่สอง ผู้ลงทุนจะไม่ถูกเก็บโดยตรง แต่กองทุนจะหักค่าธรรมเนียมส่วนนี้ออกจากราคา NAV ของกองทุนที่อัปเดตทุกวัน โดย % ค่าธรรมเนียมส่วนนี้จะเป็น % ต่อปี โดยจะเอาไปหาร 365 แล้วนำไปหักออกจาก NAV วันต่อวัน ยกตัวอย่างเช่น กองทุนกองหนึ่งเก็บค่าบริหารจัดการปีละ 1.8% แสดงว่ากองนี้จะหัก NAV ออกไปวันละ 1.8%/365 = 0.005% หักไปพร้อมกับการคำนวณมูลค่า NAV ณ สิ้นวัน ตัวอย่างค่าธรรมเนียมที่หักออกจากราคา NAV รายวัน Management Fee = ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม หรือเรียกว่า ค่าใช้จ่ายในการจัดการ ส่วนนี้จะเป็นค่าแรงของทีมผู้จัดการกองทุนที่มีหน้าที่บริหารกองทุนรวมให้เรา ค่าธรรมเนียมส่วนนี้จะแตกต่างไปตามความยากง่ายในการบริหาร เช่น ค่าธรรมเนียมกองทุนหุ้นจะสูงกว่าตลาดเงิน ค่าธรรมเนียมกอง Active Fund จะสูงกว่า Passive Fund เป็นต้น Trustee Fee = ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ ซึ่งมีหน้าที่รับรองราคา NAV ให้ถูกต้อง และควบคุมให้กองทุนดูแลผลประโยชน์นักลงทุนตามนโยบายที่บอกไว้ Registrar Fee = ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรายชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน และสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การจ่ายเงินปันผล ค่าธรรมเนียมประเภทนี้จะต่างกับแบบแรกที่เสียตอนซื้อหรือขายครั้งเดียว เพราะค่าธรรมเนียมส่วนนี้จะถูกเก็บทุกวันโดยหักจาก NAV แสดงว่าค่าธรรมเนียมส่วนนี้เราเลี่ยงไม่ได้ ต้องพยายามเลือกกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมการบริหารส่วนนี้ต่ำเมื่อเทียบกับผลการดำเนินการ ไม่งั้นจะเหมือนว่าเราขาดทุนทุกวันครับ หลักการเลือกกองทุนจากค่าธรรมเนียม ทีนี้เราควรจะเลือกกองทุนอย่างไรเพื่อไม่ให้เสียเปรียบเรื่องค่าธรรมเนียมเกินไป อันนี้เป็นคำแนะนำเบื้องต้นในการเลือกกองทุนจากค่าธรรมเนียมครับ พยายามไม่ซื้อขายกองทุนบ่อยเกินไป เพราะจะเสียค่าธรรมเนียมเวลาซื้อขาย (ซึ่งค่าธรรมเนียมกองทุนจะสูงกว่าหุ้นเยอะ) กองทุนจึงไม่เหมาะจะลงทุนระยะสั้น แต่ควรเน้นลงทุนระยะกลางถึงระยะยาวขึ้นไป ค่าธรรมเนียมถูก ไม่ได้หมายถึงดีเสมอไป ต้องดูผลตอบแทนที่กองทุนทำได้ด้วย โดยค่าธรรมเนียมควรจะคุ้มค่าเมื่อเทียบกับผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่กองทุนทำได้ ค่าธรรมเนียมต้องเปรียบเทียบกับกองทุนในกลุ่มเดียวกันเท่านั้น เพราะกองทุนต่างประเภทมีค่าใช้จ่ายในการบริหารแตกต่างกัน ปกติกองทุน Active Fund (พยายามเอาชนะตลาด) จะมีค่าธรรมเนียมสูงกว่า Passive Fund (ทำผลตอบแทนล้อกับตลาด) เพราะต้องใช้ฝีมือของผู้จัดการกองทุนเข้าช่วย จุดนี้ควรระมัดระวังในการเลือกกอง Active Fund ที่เก็บค่าธรรมเนียมแพงแต่ทำผลตอบแทนไม่คุ้มค่า นักลงทุนท่านใดสนใจเรื่อง Passive Fund กับ Active Fund สามารถอ่านเพิ่มได้ลิสต์บทความด้านล่างครับ กองทุนดัชนีรบ 100 ครั้งเสมอ 100 ครั้ง! ตีแผ่ความลับของกองทุนประเภท Active: เมื่อกองทุนประเภท Active ไม่ได้ Active จริง!!! ศึกประชันผลตอบแทนย้อนหลังจากการ DCA: กองทุน Passive V.S. กองทุน Active Cryptonicest.com แนะนำทุกการลงทุน หารายได้เสริม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง หุ้น มีทั้ง ข่าวหุ้น สอนการ เทรดหุ้น เล่นหุ้น ให้ทุกท่านได้รับรู้ก่อนใคร อีกทั้งยังมี สลาก มีทั้ง สลากกินแบ่งรัฐบาล สลากธกส สลากออมสิน สอนเทคนิคการซื้อ กองทุนรวม บิทคอยน์ Bitcion รวมถึง NFT ว่าคืออะไร แล้วต้องทำอย่างไร ขอแนะนำ Cubd-game.com รีวิวเกม เกมน่าเล่น เกมออนไลน์ คลับของคนรักเกม
Date: มกราคม 16, 2022